โครงการต่อยอดสุขภาพนิสิตและอาจารย์ในชุมชนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ด้วยนวัตกรรมกิจกรรมทางกาย (ครั้งที่ 2)
เป็นกิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งที่เป็นนิสิต บุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว และผู้สนใจ โดยกิจกรรมแบ่งเป็น ๒ ครั้ง ดังนี้
๑. กิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ช่วงเริ่มกิจกรรมในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๔:๓๐ น. รับลงทะเบียน
๑๔:๔๕ น. ทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนเข้าร่วมโครงการ
- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ : ฐานวัดสัดส่วนของร่างกาย
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน : ฐานทดสอบความอ่อนตัวของร่างกาย
- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ฐานทดสอบความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ
- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป : ฐานทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ : ฐานบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลของ สสส.
๑๕:๓๐ น. รับประทานอาหารว่าง/น้ำดื่ม
๑๕:๔๕ น. ทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนเข้าร่วมโครงการ (ต่อ)
๑๗.๐๐ น. เสร็จสิ้นกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ ๑
๒. กิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ช่วงเริ่มกิจกรรมในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๔:๑๕ น. รับประทานอาหารว่าง/น้ำดื่ม
๑๔:๓๐ น. ทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๕ ฐาน
- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ : ฐานวัดสัดส่วนของร่างกาย
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน : ฐานทดสอบความอ่อนตัวของร่างกาย
- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ฐานทดสอบความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ
- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป : ฐานทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางธุรกิจ : ฐานบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูลของ สสส.
๑๗:๐๐ น. เสร็จสิ้นกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ ๒
๑. มีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า ๒๐๐ คน ๒. ผลการพัฒนาสมรรถภาพทางกายดีขึ้นร้อยละ ๑๐
เป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและโภชนาการโดยเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลวัฒนานคร ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว มาให้ความรู้กับนิสิต บุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วและผู้สนใจ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น ๒ ครั้ง คือ
๑. การปลูกฝังทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและการบริโภคอาหาร ช่วงเริ่มโครงการ ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีกำหนดการดังนี้
๑๓:๐๐ น. รับลงทะเบียน
๑๓:๑๕ น. บรรยายให้ความรู้เรื่อง “การดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและโภชนาการที่ถูกต้อง”
๑๔.๑๕ น. สร้างความเข้าใจด้านการเคลื่อนไหวทางกายและการบริโภคอาหารด้วยกิจกรรม Kahoot
๑๔:๓๐ น. เสร็จสิ้นกิจกรรม ครั้งที่ ๑
๒. การปลูกฝังทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและการบริโภคอาหาร ช่วงปิดโครงการ ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีกำหนดการดังนี้
๑๓:๐๐ น. รับลงทะเบียน
๑๓.๑๕ น. สร้างความเข้าใจด้านการเคลื่อนไหวทางกายและการบริโภคอาหารด้วยกิจกรรม Kahoot
๑๓:๓๐ น. บรรยายให้ความรู้เรื่อง “จิตวิทยาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจสำหรับวัยรุ่น” โดย ดร. อาพรรณชนิต ศิริแพทย์ วิทยากรพิเศษจาก สสส.
- คณบดีมอบของที่ระลึกแก่วิทยากรพิเศษ ดร. อาพรรณชนิต ศิริแพทย์
๑๔:๐๐ น. เสร็จสิ้นกิจกรรม ครั้งที่ ๒
๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกายก่อนออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ๒. ผลการตอบความรู้ความเข้าใจผลดีและผลเสียของกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกายอย่างถูกวิธีและผิดวิธี ผ่านกิจกรรม Kahoot มีคะแนนความถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๘๐
กิจกรรมลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคอ้วน เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายด้วยผู้นำการออกกำลังกาย โดยการจัดให้มีการเต้นแอโรบิค ช่วงเวลา ๑๖:๐๐ - ๑๖:๔๕ น. เพื่อให้นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วและผู้สนใจออกกำลังกายเต้นแอโรบิคต่อเนื่อง ๓-๔ วันต่อสัปดาห์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดตามปฏิทินมหาวิทยาลัย
(๑) ช่วงเวลาการจัดกิจกรรม วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ - วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
(๒) ช่วงเวลาการปิดกิจกรรม วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
๑๔:๐๐ น. - มอบรางวัลเพื่อการยกย่อง: เสื้อสำหรับผู้มีสุขภาพดี จำนวน ๒๐ รางวัล
๑๔:๑๕ น. เสร็จสิ้นกิจกรรมลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคอ้วน
๑. ผู้เข้าร่วมโครงการเล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมลดพุง ลดเสี่ยง ด้วยน้ำเต้าหู้สมุนไพรหาง่ายในท้องถิ่น เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายด้วยตารางเก้าช่องประยุกต์ โดยการจัดให้มีการเต้นตารางเก้าช่องประยุกต์ ช่วงเวลา ๑๖:๔๕ - ๑๗:๓๐ น. เพื่อให้นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วและผู้สนใจออกกำลังกายต่อเนื่อง ๓ วันต่อสัปดาห์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดตามปฏิทินมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาการจัดกิจกรรม วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ - วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
๑. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนโดยเฉลี่ย ๖๐ คนต่อวัน ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการบริโภคน้าเต้าหู้หรือน้ำสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างการ เช่น น้ำฝาง น้ำอัญชัน ตลอดกิจกรรม

สำรวจความต้องการในการออกกำลังกายและการเลือกประเภทกออกกำลังกายตามความสนใจ แบบออนไลน์
จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 90 คน