PA Thailand (Physical Activity Thailand)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัยใส่ใจสุขภาพ
ภายใต้โครงการ โครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป)
ภายใต้องค์กร สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
เลขที่ข้อตกลง
รหัสโครงการ 61-ก.09
วันที่อนุมัติ 3 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว นัสมล บุตรวิเศษ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 061-6369414
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
30.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
20.00
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาพบจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และการสาธารณสุข (United Nations Population Funds, 2012: 3-4) สำหรับข้อมูลประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2553 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวน 8.4 ล้านคน และคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.2 ล้านคน และ 17.7 ล้านคนตามลำดับ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ, 2555: 12-14) และเมื่อเปรียบเทียบกับประชากร วัยเด็ก (อายุ 0-14ปี) และวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) พบ ว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากอัตราการเกิดของทารกและการเสียชีวิตของผู้สูงอายุลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2554: 7 และจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2556: 3)ในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 12.7 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ จึงทำให้ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ตามคำนิยามของ องค์การสหประชาชาติ จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุพบว่าเมื่อผู้สูงอายุมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะเสื่อมถอยและอ่อนแอลง จิตใจมีการแปรปรวน (นภาภรณ์ และธีรวัลย์, 2552: 10-11 และ ประนอม, 2554: 11-24) ในด้านสถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุไทยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไตวาย โรคดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนสุขภาพ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ, 2554: 25) สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิต คือ ความสุข อันเกิดจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม (ลัดดา, 2555: 14-15) โดยการมีสุขภาพที่ดีย่อมเกิดจากการที่บุคคลทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมสุขภาพของตนเอง (Pender, 1996: 98) และนอกจากการที่ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว ยังสามารถรับการดูแลจากบุคคลอื่นได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการสนับสนุนทางสังคม โดยกิจกรรมที่กระทำต่อผู้สูงอายุเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพส่งผลให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุดีขึ้น (Cohen and Syme, 1985: 3-4) การสนับสนุนทางสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามวัย ชะลอความเสื่อมอันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แนวทางการดูแลสุขภาพควรมุ่งไปที่การป้องกัน มากกว่าการรักษาโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปีเหล่านี้จะทำให้เป็นวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถมีสุขภาพที่ดี ลดการพึ่งพิงผู้อื่น ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย
ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้เช่นเดียวกับวัยอื่น แต่ควรคำนึงถึงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายที่มีน้อยกว่า ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ 3 ประเภท คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายที่มีแรงต้าน และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นโดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดการออกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการออกกำลังกายที่มีการทำงานร่วมกันของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนของร่างกายเพิ่มมากขึ้น (พิมผกา, 2555)เนื่องจากการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหลายประการและหลายเงื่อนไข ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษา การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 50.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 40.00
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

30.00 50.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน 10 -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) 20 -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
3 มิ.ย. 62 - 31 ส.ค. 62 ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค 0 40,000.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2562 14:48 น.