PA Thailand (Physical Activity Thailand)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school.
ภายใต้โครงการ โครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป)
ภายใต้องค์กร สำนักงานแผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ
เลขที่ข้อตกลง 61-กทม.0
รหัสโครงการ 61-กทม.0
วันที่อนุมัติ 19 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 สิงหาคม 2562 - 16 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนคลองปลัดเปรียง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกุลญา ฉาวเกียรติคุณ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ -,0959583762
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ละติจูด-ลองจิจูด 13.656518585813,100.6634989276place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ส.ค. 2562 30 พ.ย. 2562 19 ส.ค. 2562 30 พ.ย. 2562 32,000.00
2 1 ธ.ค. 2562 16 ธ.ค. 2562 8,000.00
รวมงบประมาณ 40,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์)
50.00
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ทุกวันใน 1 สัปดาห์)
50.00
3 ร้อยละของเวลาเรียน ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพการทำงานและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนทั่วโลกมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง อยู่ในท่านั่ง ท่านอน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์ของเด็กและเยาวชนก็มีพฤติกรรมจมตัวเองและหมกหมุ่นกับโลกโซเซียลมีเดีย ส่งผลให้คนทุกวัยมีความเสี่ยงในปัญหาสุขภาพ ที่เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคร้าย Non-Communicable Diseases (NCDs) หรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ที่คร่าชีวิตคนบนโลกนี้ไปมากที่สุด
กอปรกับผลการสำรวจที่ สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เด็กไทยมีแนวโน้มออกกำลังกายน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการที่สังคมเปลี่ยนแปลงจากสภาพสังคม เพราะเด็กๆ ไม่ค่อยออกมาเล่น แต่ชอบดูทีวี เล่นโซเซียลมีเดีย โดยใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมา โรงเรียนควรเพิ่มกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้มากขึ้น เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีความสุขและสนุกกับการทำกิจกรรมทางกาย อันจะส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้ปกครองทราบถึงคามคิด จินตนาการ อารมณ์ และความรู้สึกที่แท้จริง นับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ให้กับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ได้เป็นอย่างดี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี

ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์)

50.00 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

50.00 60.00
3 เพิ่มเวลาการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉงในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาเรียนในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)

15.00 20.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 170 170
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 43 43
วัยเรียน (6-12 ปี) 127 127
วัยรุ่น (13-15 ปี) 0
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 850 40,000.00 5 40,000.00
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 กิจกรรมโรงเรียนสะอาด ด้วยมือเรา 170 8,155.00 8,155.00
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 กิจกรรมหนูหนู ฟันดี กับ สูตรคูณพาเพลิน 170 3,400.00 3,400.00
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 กิจกรรมกีฬามหาสนุก 170 2,200.00 2,200.00
20 ส.ค. 62 - 16 ธ.ค. 62 กิจกรรมพัฒนาจิต เจริญปัญญา 170 10,065.00 10,065.00
26 ส.ค. 62 - 6 พ.ย. 62 กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1-2 170 16,180.00 16,180.00

กิจกรรมการดำเนินงาน 1. ประชุมวางแผนชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ 2. กำหนดเป้าหมายและระดับความสำเร็จของโครงการ 3. กำหนดกิจกรรม ปฏิทินการปฏิบัติงาน และผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์หาวิธีการและกระบวนการในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายและระดับความสำเร็จของโครงการที่กำหนดไว้ การดำเนินงาน 1. เสนออนุมัติโครงการ 2. วัดสมรรถภาพทางกายของนักเรียน 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการทำกิจกรรม 4. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนี้   4.1 กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย   ปฏิบัติทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรม
  4.2 กิจกรรมโรงเรียนสะอาด ด้วยมือเรา
  ปฏิบัติกิจกรรมทุกวัน เวลา 07.30 – 07.45 น. รวม 15 นาที นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึง นักเรียนชั้นประถมศึกปีที่ 6 จำนวน 170 คน แบ่งออกเป็น 5 สี (คละชั้นเรียน) ปฏิบัติหน้าที่ จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาพื้นที่ภายในโรงเรียน ให้สะอาดพร้อมใช้งานโดยแต่ละสีแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้ สีเหลือง – ล้างห้องน้ำชาย-หญิง สีแดง - หน้าอาคารเรียน, สนาม สีฟ้า – บริเวณหน้าโรงเรียน สีเขียว- บริเวณโรงอาหาร,สนามเด็กเล่น สีม่วง – สนามเด็กเล่น ห้องพยาบาล คุณครูและนักเรียนชั้นอนุบาล 2 –3 ร่วมกันเก็บขยะหน้าห้องอนุบาล   4.3 กิจกรรมหนูหนู ฟันดี กับ สูตรคูณพาเพลิน
  ปฏิบัติกิจกรรมทุกวัน เวลา 12.10 – 12.30 น. รวม 20 นาที นักเรียนชั้นประถมคึกษาปี 1- 6 แปรงฟันเพื่อการดูแลช่องปาก และท่องสูตรคูณประกอบท่าทาง ส่วนนักเรียนชั้นอนุบาล 2 –3 แปรงฟันที่ห้องเรียน   4.4 กิจกรรมกีฬามหาสนุก   ปฏิบัติกิจกรรมวันพุธ เวลา 14.30 –15.30 น. และช่วงเวลาเลิกเรียนของทุกวัน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ฝึกซ้อมการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล, ฟุตบอล, เปตอง, และเครื่องออกกำลังกายอื่น ๆ ตามความถนัด   4.5 กิจกรรมพัฒนาจิต เจริญปัญญา   ปฏิบัติกิจกรรมทุกวันศุกร์ เวลา 08.30 – 09.30 น. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 – นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมกันสวดมนต์ทำนองสรภัญญะและนั่งสมาธิ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปีมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
  2. โรงเรียนจัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning)
  3. นักเรียนมีสมรรถภาพร่างกายหลังการจัดกิจกรรม Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school. สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
  4. โครงการ Active play Active learning thinking for health of klongpraratpreang school.
    มีประสิทธิผลอยู่ในระดับดี
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2562 13:29 น.