PA Thailand (Physical Activity Thailand)

tune

โครงการขยับกายสบายชีวี (ขอนแก่น ) ร.ร.บ้านหนองคลอง

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการขยับกายสบายชีวี (ขอนแก่น ) ร.ร.บ้านหนองคลอง
ควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
2562
คะแนน:
1
2
3
4
5
stars
2. พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ขอนแก่น บ้านฝาง ป่ามะนาว ชนบท
คะแนน:
1
2
3
4
5
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
check_circleแผนงานกิจกรรมทางกาย
คะแนน:
1
2
3
4
5
stars
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีสัดส่วนที่กระชับร่ายการแข็งแรง

ร้อยละ 80 ของนักเรียน (อายุ 5-13 ปี) ได้เข้าร่วมกิจกรรมกระชับสัดส่วนทางกาย

30.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีกิจกรรมออกกำลังกายที่หลากหลายและเพียงพอ

มีจำนวนกิจกรรมเพิ่มขึ้นและหลากหลาย ร้อยละ 80

30.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงโดยการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง

50.00 80.00
4 .เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมทางกายบูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ในชั้นเรียน สาระละ 1 แผนจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

40.00 80.00
คะแนน:
1
2
3
4
5
stars
5. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) 28
วัยเรียน (6-12 ปี) 102
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ
คะแนน:
1
2
3
4
5
stars
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2562
30 กันยายน 2562
คะแนน:
1
2
3
4
5
stars
7. วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแอโรบิก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแอโรบิก
วัตถุประสงค์
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ทดสอบสมรรถภาพก่อนทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม
    2. ให้นักเรียนร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียนตอนเช้าโดยให้นักเรียนกิจกรรมที่สนามกีฬาBBL10 นาที ซึ่งทางโรงเรียนบ้านหนองคลองมีสนาม BBL ไว้ให้นักเรียนได้ออกกำลังกายทุกเช้า วันละ 10 นาที ก่อนเข้าแถวเคารพ ธงชาติ / กลางวัน ให้นักเรียนร่วมกิจกรรมเกมส์การละเล่นที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน 20 นาทีเช่น เก้าอี้ดนตรีที่ลานโดมหน้าห้องสมุด / ช่วงเย็นให้นักเรียนร่วมกิจกรรมแอโรบิกประกอบเพลง30 นาทีสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จันทร์ พุธ ศุกร์ โดยใช้ลานซีเมนต์หน้าห้องประชุมเป็นสถานที่เต้นแอโรบิก
    3. เคลื่อนไหวการออกกำลังกายแบบแอโรบิก และการเลือกจังหวะดนตรีประกอบ โดยการเคลื่อนไหว 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1
    1. ขั้นอบอุ่นร่างกาย (Warm up)
    การอบอุ่นร่างกายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการออกกำลังกาย เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้พร้อมที่จะทำงานหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยในการเพิ่มอุณหภูมิของกล้ามเนื้อ เพิ่มจังหวะการเต้น ของหัวใจ เพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวได้ดี และเร็วขึ้น กล้ามเนื้อมีการยืดหดตัวมากขึ้น จึงสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกายได้ในขั้นอบอุ่นร่างกายนี้ชีพจรจะมีอัตราการ เต้นสูงขึ้น แต่ไม่เกิน 50-60% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยใช้เวลา ในการอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-15 นาทีและใช้จังหวะดนตรีที่มีจังหวะระหว่าง แอโรบิกด๊านซ์ แอโรบิกด๊านซ์ 41 135-140 ครั้ง/นาที(BPM : Beat Per Minute) ซึ่งการอบอุ่นร่างกายแบ่งได้ 2 ขั้นตอน คือ 1.1 ขั้นอบอุ่นร่างกายเฉพาะส่วน เป็นการบริหารร่างกาย ด้วยท่ากายบริหารที่มีจังหวะช้าและเบา โดยให้มีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของ ร่างกายที่ต้องการใช้ในขณะออกกำลังกาย และควรใช้ท่าที่ง่าย เช่น การย่ำเท้า การเดิน เป็นต้น ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาประมาณ 5-7 นาทีเพื่อปรับเปลี่ยน ความหนัก และความเร็วของจังหวะเพลงในการเข้าสู่การออกกำลังกายอย่างช้า ๆ เพื่อปรับระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ และยังเป็นการเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนระหว่างเลือดและกล้ามเนื้ออีกด้วย1.2 ขั้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) เป็นช่วงของการยืด เหยียดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ และข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ แขน ไหล่ ลำตัว หลัง สะโพก ต้นขา และน่อง ในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแต่ละส่วนควรใช้ เวลาประมาณ 10 วินาทีเพื่อให้มุมของข้อต่อ และกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเต็มช่วงกว้างตามธรรมชาติของข้อต่อนั้น ๆ และเป็นการป้องกันไม่ให้ เกิดการบาดเจ็บจากการเต้นแอโรบิก ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลา 5-7 นาที

    2. ขั้นแอโรบิก (Aerobic Workout)
    เป็นการบริหารร่างกายด้วยท่าทางต่าง ๆ ที่สร้างเป็นชุดด้วย จังหวะที่เร็วขึ้นตามลำดับ มีการยกแขน-ขาสูง และเหยียดอย่างเต็มที่ โดยใช้ เวลาประมาณ 20-30 นาทีซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะสูงตามระดับอัตรา การเต้นของหัวใจที่ตั้งเป้าหมายไว้และควรรักษาระดับความหนักไว้ประมาณ 20-30 นาทีสำหรับความหนัก และเวลาในการเต้นจะแตกต่างกันในแต่ละ บุคคล ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางกาย ความสามารถ และวัยของผู้เต้น ในช่วง การออกกำลังกายนี้ผู้เต้นควรกระทำอย่างสบาย ๆ หายใจให้ลึก แรง และสะดวก การเป่าลมหายใจออกทางปากจะช่วยให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น และควรมีการ จับชีพจรเพื่อตรวจดูความหนักของการเต้นเป็นระยะ ๆ ถ้าผู้เต้นรู้สึกเหนื่อยล้า ควรลดความหนักลง แต่ถ้าผู้เต้นมีความจำเป็นจะต้องหยุดเต้นกลางคัน จำเป็นต้อง มีการผ่อนคลายด้วยการย่ำเท้าอยู่กับที่ 3-5 นาทีก่อนที่จะหยุดเพื่อให้ร่างกาย ปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งขั้นแอโรบิกจะช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพ การทำงานของหัวใจ ปอด การเผาผลาญไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิต ดีขึ้น และช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ให้มีความแข็งแรง และมีความ อดทนมากขึ้น ซึ่งจังหวะดนตรีในช่วงนี้ควรมีจังหวะระหว่าง 140-160 BPM (Beat Per Minute)

    3. ขั้นคลายอุ่นร่างกาย (Cool down)
    หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้เต้นจำเป็นต้องทำการผ่อนคลาย ความหนักของการเต้นลงอย่างช้า ๆ ด้วยท่าทางที่เบาลง จังหวะช้าลง โดยไม่มี การกระตุกแล้วตามด้วยการเหยียดกล้ามเนื้ออย่างช้า ๆ และนุ่มนวล ซึ่งการคลายอุ่น ร่างกายนี้จะช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพได้เร็วขึ้น ช่วยลดการสะสมกรดแลกติก ในร่างกาย และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่อีกด้วย ซึ่งขั้นคลายอุ่น ร่างกายสามารถแบ่งได้2 ขั้นตอน คือ แอโรบิกด๊านซ์ แอโรบิกด๊านซ์ 43 3.1 ขั้นบริหารกายเฉพาะส่วน (Floor Work) เป็นขั้นตอน ที่ใช้ในการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยการยืดเหยียด กล้ามเนื้อที่ต้องการบริหาร เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง เอว สะโพก และต้นขา เป็นต้น ด้วยท่าง่าย ๆ และไม่มีการเกร็ง โดยใช้เวลาในการบริหารกายประมาณ 5-7 นาทีและใช้ดนตรีที่มีจังหวะระหว่าง 155-140 ครั้ง/นาที 3.2 ขั้นคลายอุ่น (Cool Down) เป็นขั้นตอนในการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หลังการออกกำลังกายให้สามารถปรับสภาพการทำงาน จากระดับที่หนัก ให้ลดลงจนกลับสู่สภาวะปกติทำให้ชีพจรลดลง เลือดสามารถ ถ่ายเทของเสียที่เกิดจากการออกกำลังกายออกมาทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้า หรือ ปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย ช่วยลดการตึงของกล้ามเนื้อและเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยใช้เวลาในการคลายอุ่นร่างกาย ประมาณ 5-10 นาทีใช้จังหวะดนตรีประมาณ 120-135 ครั้ง/นาที ในการเต้นแอโรบิกนั้นควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20-50 นาทีด้วยความหนัก 65-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุดในทุกส่วนและทุกระบบของร่างกาย
    ระยะเวลาดำเนินงาน
    1 กรกฎาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562
    ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    นักเรียนที่ออกกำลังกายประจำจะมีส่วนทำให้สุขภาพดีจะเจ็บป่วยน้อยกว่าและมีอายุยืนกว่า การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่ยังช่วยให้สุขภาพจิตดี
    ทรัพยากรอื่น ๆ
    ภาคีร่วมสนับสนุน
    ประชุมคณะครู

    กิจกรรมที่ 2 ฮูล่าฮูปหรรษา

    ชื่อกิจกรรม
    ฮูล่าฮูปหรรษา
    วัตถุประสงค์
      รายละเอียดกิจกรรม
      กิจกรรมฮูลาฮูปประกอบเพลง โดยให้นักเรียน กายบริหารก่อนการเริ่มกิจกรรมเพื่อยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ โดยเพลงที่ใช้ประกอบแต่ละเพลงจะแตกต่างกันคือ เพลงเริ่มต้นจะให้เพลงเบาๆ ผ่อนคลายและจะเริ่มเร็วขึ้น และเบาลงตามลำดับใช้เวลาในการทำกิจกรรม30 นาที
      ระยะเวลาดำเนินงาน
      1 กรกฎาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562
      ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
      นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      ทรัพยากรอื่น ๆ
      ภาคีร่วมสนับสนุน

      กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการณืกับกิจกรรมทางกาย8 กลุ่มสาระ

      ชื่อกิจกรรม
      กิจกรรมการเรียนการสอน บูรณาการณืกับกิจกรรมทางกาย8 กลุ่มสาระ
      วัตถุประสงค์
        รายละเอียดกิจกรรม
        จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดยบูรณาการณืหน่วยการเรียนรู้กับกิจกรรมทางกาย8 กลุ่มสาระ สาระละ 1 แผนการเรียนรู้
        ระยะเวลาดำเนินงาน
        1 กรกฎาคม 2562 ถึง 30 มิถุนายน 2562
        ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
        นักเรียนสามารถยืดหยุ่นร่างกายได้ถูกวิธีและลดปัญหาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลงได้และสามารถให้กล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมได้อย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ
        ทรัพยากรอื่น ๆ
        ภาคีร่วมสนับสนุน
        ผู้บริหาร, คณะครู, นักเรียน, ชุมชน

        กิจกรรมที่ 4 ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมทางกาย

        ชื่อกิจกรรม
        ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมทางกาย
        วัตถุประสงค์
          รายละเอียดกิจกรรม
          1. นักเรียนสามารถเลือกกิจกรรมที่ตนเองสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม
          2. ให้นักเรียนทดสอบสมรรถภาพ การยืดหยุ่นร่างกายให้พร้อมกับการร่วมกิจกรรม
          3. กิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้สนามกีฬาโรงเรียนบ้านหนองคลอง
          4. กิจกรรมลานกีฬาอเนกประสงค์ที่ทางโรงเรียนมีและให้นักเรียนร่วมกิจกรรมได้ตามความถนัดและความเหมาะสม
          ระยะเวลาดำเนินงาน
          1 กรกฎาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562
          ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
          นักเรียนมีความสุข และสนุกในการเข้าร่วมกิจกรรม ลดปัญหาทุพโภชนาการ อ้วนเกินไปและนักเรียนมีความสนุกสนานกับการเล่นกีฬาที่ตนขอบ
          ทรัพยากรอื่น ๆ
          ภาคีร่วมสนับสนุน
          -
          คะแนน:
          1
          2
          3
          4
          5
          stars
          8. งบประมาณโครงการ
          จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท
          คะแนน:
          1
          2
          3
          4
          5
          stars
          9. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
          คะแนน:
          1
          2
          3
          4
          5
          stars
          10. เอกสารประกอบโครงการ
          คะแนน:
          1
          2
          3
          4
          5