PA Thailand (Physical Activity Thailand)

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง

@27 มี.ค. 67 08:43
ตรัง//สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย&nb

ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล

@25 มี.ค. 67 14:57
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายท้องถิ่นอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 20 แห่ง ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลก

สสส. ร่วมกับ ม.อ. ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะ และท้องถิ่น เปิดพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบ “แล เล่น รักษ์ เล” ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย

@26 ธ.ค. 65 17:06
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย สถาบันนโยบายสาธารณะ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และเทศบาลเมืองป่าตอง เปิดพื้นที่ทดลอง CityLab Patong โแล เล่น รักษ์ เลโ ณ ลานโลมา หาดป่าตอ

การประชุมสรุปถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมฯ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 ณ จ.สมุทรสงคราม

@24 ก.พ. 63 11:16
การประชุมสรุปถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563ณ บ้านทิพย์สวนทอง (อัมพวา) อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

หัวข้อทั้งหมด

การดำเนินกิจกรรมโครงการ

  • โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนในการพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ https://www.pathailand.com : วัตถุประสงค์ ในการใช้ระบบเว็บไซต์ PA ของเครือข่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพคนและเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพโครงการ เพื่อสามารถติดตามประเมินผลได้ : สสส.หัวหน้าโครงการ ผู้ทำโครงการ ทั้งนี้ เพื่อทำให้คนไทยมี PA เพิ่มขึ้น - Website ช่วยอะไรบ้าง พัฒนาโครงการ ติดตามโครงการ ประเมินผลโครงการ ทำรายงาน - รายงานงวด รายงานฉบับสมบูรณ์ - รายงานการเงิน 5. จัดการข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล: สถานการณ์ / งาน / ผลการดำเนินงาน เพื่อการบริหารแผนงานโครงการ แลกเปลี่ยนเรื่องการจัดการระบบเว็บไซต์ PA - การพัฒนาโครงการ เมื่อทางโรงเรียนเขียนข้อเสนอโครงการเป็นที่เรียบร้อย ให้กด “ส่งพิจารณา” แล้วโครงการนั้นจะเข้ามาอยู่ในช่องพิจารณาเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมการต่อไปได้ - การแบ่งจำนวนโครงการแต่ละจังหวัด ให้แบ่งตามภูมิภาค 7 ภูมิภาค ประเด็นโครงการย่อย ไม่ทราบผลการอนุมัติเมื่อไหร่ อยากให้โปรแกรมแจ้งเตือน - สถานะโครงการ การใช้ระบบสีในช่องทางแจ้งความก้าวหน้าของโครงการ เช่น ช่องสีแดง พัฒนาโครงการ > ช่องสีเหลือง พิจารณาโครงการ > ช่องสีเขียว โครงการผ่านได้รับการอนุมัติ เป็นต้น - สถานะโครงการ ให้ใช้ระบบ pop up ในการแจ้งสถานะโครงการ - การทดสอบระบบพัฒนาโครงการ ให้ใช้ตัว DEMO ในการพัฒนาโครงการ - Username แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ 1.Admin แก้ไขได้หมด 2. ผู้รับผิดชอบแก้ไขได้ทุกอย่าง 3. ระดับเขต แก้ได้เฉพาะระบบดับเขต - ในปีถัดไปให้พี่เลี้ยงแต่ละภาค ลงบันทึกกิจกรรมที่ดำเนินการในระบบ เช่น การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม - การใช้แบบประเมินโครงการจะพิจารณาอีกครั้ง - ประเด็นโครงการย่อย ไม่ทราบผลการอนุมัติเมื่อไหร่ ให้โปรแกรมมีระบบแจ้งเตือน - ระบบแจ้งเตือน Comment ของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ > เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการได้แสดงความคิดเห็นแล้ว ให้มีระบบแจ้งเตือนไปยังโครงการย่อยได้รับทราบ > จากนั้นโครงการย่อยจะเข้ามาแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการ@12 มิ.ย. 63 10:41
  • โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    ประชุมเตรียมนำเสนอการสังเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมทางกาย เว็บ PA : การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ ภาพรวมการติดตามโครงการ รายชื่อโครงการ ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณ แสดงดังลิงค์ https://www.pathailand.com/project/report แบบประเมินสามารถวิเคราะห์ได้ 6 แบบประเมินได้แก่ แบบติดตามประเมินผลปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation) แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation) แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ แบบประเมิน HIA@12 มิ.ย. 63 09:10
  • โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    ประชุมรายงานความก้าวหน้าการประเมินความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์กิจกรรมทางกาย : ได้ประเมินแนวทาง ดังนี้ - การสนับสนุนถ้าต้องการขยายวงกว้างควรเน้น Policy และ Network - การเพิ่ม PA ที่พอเพียง ควรเน้น Skill และ Monitor - การให้คนมี PA เพิ่มขึ้นและพอเพียง เน้น Skill, Monitor และ Knowledge - และการสนับสนุน Environment เป็นแนวทางที่เฉพาะจงเจาะขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่นั้นๆ@01 มิ.ย. 63 14:59
  • โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

    ประชุมการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บ PA : หลังจากทางโรงเรียนได้ทำกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมเสร็จสิ้นโครงการแล้ว และมีการกรอกข้อมูลเข้ามาในระบบออนไลน์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินโครงการได้ ทางโปรแกรมเมอร์ได้ประชุมกับทีมงาน พบว่าสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ เช่น 1.ประเภทโครงการ ใหม่กับต่อเนื่องสัดส่วนเท่าไร 2. สัดส่วนประเภทองค์กร 3. ร้อยละของสถานการณ์ปัญหา และเป้าหมายในการแก้ปัญหา ได้แก่ 1) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ทุกวันใน 1 สัปดาห์) 2) ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 3) ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4) ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 5) ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 6) ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 7) ร้อยละของเวลาเรียน ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active-play Active-learning) 8) ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน 9) ร้อยละของเด็กปฐมวัย อายุก่อน 5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทุกวันใน 1 สัปดาห์) 10) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ในชุมชนที่สัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยาน 11) ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น (อายุ 5-17 ปี) ในชุมชนที่มีการออกกำลังกาย 4. สัดส่วนกลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5. พื้นที่ดำเนินการ/ลักษณะโครงการ/พื้นที่ดำเนินงาน 6. การใช้จ่ายงบประมาณ 7, จำนวนโครงการแยกรายจังหวัด เป็นต้น@01 มิ.ย. 63 14:57

More Info